วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผมเองครับ

เฉลิมพงษ์ ฤทธี
ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านโคกสว่าง
ตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
คติพจน์ "วันนี้ดีที่สุด"

รู้ไว้ใช่ว่า....

ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งของนายแพทย์นพรัตน์ บุณยเลิศ

นายแพทย์นพรัตน์ บุณยเลิศ เป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการพระราชดำริสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน โดยเป็นคณะกรรมการปลูกต้นไม้ และได้ทำการค้นคว้าวิจัยสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งเพื่อตอบสนองแนวพระราชดำริ ด้วยการค้นคว้าตำราสมุนไพรจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแล้วนำมาทดลองรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่างๆ โดยเริ่มทดลองด้วยการใช้นมผึ้ง (royal jelly) และเลือดจระเข้ พบว่านมผึ้งให้ผลในการรักษาดีกว่าเลือดจระเข้ และยังให้ผลดีกับมะเร็งทุกชนิดด้วย
สมุนไพรทุกชนิดที่นายแพทย์นพรัตน์นำมาทดลองรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ได้ผ่านการวิเคราะห์ความปลอดภัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่ผลการค้นคว้าวิจัยสู่สาธารณชนได้
รักษามะเร็งตับ (WCL) ส่วนประกอบ คือ ขมิ้นชัน
วิธีเตรียม นำหัวขมิ้นชันมาซอยเป็นแว่นๆ หมักกับ diethylether (สกัดเอาตัวยาออกมา) ประมาณ 7 วัน
(เปิดฝาไว้) เมื่อ diethylether ระเหยออกไปหมดแล้ว เติม ammonium carbonate
ลงไป ทิ้งไว้ 3 วัน เมื่อ ammonium carbonate ระเหยหมด นำกากมาเติมน้ำเดือด ทำให้เย็น
เจือจางด้วยน้ำ รับประทานได้

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ














เรื่อง : รายงานการสร้างและผลการทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้
ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ วิชางานเกษตร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา : นายเฉลิมพงษ์ ฤทธี
ปีที่พิมพ์ : 2552
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรียนรู้ วิชางานเกษตร ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลการสอนจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้วิชางานเกษตร ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนรู้ วิชางานเกษตร ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ วิชางานเกษตร ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านขี้เหล็ก อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4จำนวน 9 เรื่อง และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 16 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาหนึ่งกลุ่มสอบก่อน–สอบหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) โดยทดสอบก่อนการจัดกระทำ จัดกระทำ และทดสอบหลังการจัดกระทำกับนักเรียนกลุ่มเดียวคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กล่าวคือ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วดำเนินการเรียนการสอนตามแผนการสอน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ หลังจากนั้น ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และทำแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ ผู้ศึกษานำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนของนักเรียน การสังเกตและการบันทึกในขณะทำการเรียนการสอน การทำแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน การทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียน และการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนรู้ มาวิเคราะห์ ตีความ ตรวจสอบ และสรุปผล แล้วรายงานผลโดยแสดงสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ วิชางานเกษตร ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.55/89.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 แสดงว่าเอกสารประกอบการเรียนมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้ 2) ประสิทธิภาพของผลการสอนจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้วิชางานเกษตร ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่า 25.55 อยู่ในระดับดี 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนรู้ วิชางานเกษตร ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 25.55 ซึ่งแสดงว่าเอกสารประกอบการเรียนรู้ช่วยทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 94.74 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 หรือค่าเฉลี่ยร้อยละ 90.60 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจกับการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ ชุดเกษตรพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้